Tech Story : ใส่แว่น 3 มิติให้ปลาหมึก!

video
play-sharp-fill

จากการศึกษาพฤติกรรมของปลาหมึกมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง นักวิทยาศาสตร์พบว่า ปลาหมึกมักจะใช้หนวดของมันในการจับเหยื่อ ซึ่งจะต้อง อาศัยการกะระยะที่เหมาะสม เพราะถึงแม้ว่าสัตว์จำพวกหมึกจะมีการ มองเห็นที่รอบทิศทาง แต่หากเข้าใกล้เหยื่อมากเกินไปก็จะทำให้เกิดความคาดเคลื่อนในการกะระยะและอาจทำให้เหยื่อของมันหลุดรอดไปได้
ซึ่งในเบื้องต้นก็ได้มีการ คาดการณ์ว่า สิ่งมีชีวิตจำพวกหมึกอาจมีการสั่งงานของสมองที่ตอบสนองต่อการมองเห็นคล้ายคลึงกับมนุษย์ที่ใช้ Stereopsis ในการรับรู้ความลึกในรูปแบบ 3 มิติ และใช้ดวงตาทั้งสองข้างในการจับโฟกัส (Binocular Vision) ในการ กะระยะความห่างของการจับเหยื่อ แต่ละครั้ง
และทีมนักวิจัยของมหาวิทยาลัย Minnisota ก็ได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมโดยการ ประดิษฐ์และทดลองสวมแว่น 3 มิติ (น้ำเงิน-แดง) ให้กับปลาหมึก จำนวน 11 ตัว โดยใช้หมึกกระดองหลากหลายสายพันธุ์เป็นหมึกทดลอง และวางจอคอมพิวเตอร์ไว้บริเวณหน้าแทงค์จากนั้นก็ เปิดคลิปกุ้ง 3 มิติวิ่งไปมา หากปลาหมึกมีระบบการมองเห็นแบบ Binocular ก็น่าจะ พุ่งเข้าไปจับเหยื่อ ซึ่งเป็นกุ้ง 3 มิติบนจอภาพติดกับแทงค์ที่นักวิจัยทำการฉายภาพเอาไว้
ผลการวิจัยก็ สอดคล้องกับสมมติฐาน ที่ได้ตั้งเอาไว้ คือ ปลาหมึกที่สวมแว่น 3 มิตินี้มีการเคลื่อนไหวไปตามเหยื่อที่มันเห็นบนจอภาพและมีการกะระยะห่างของการตวัดหนวดออกมาเพื่อจับเหยื่อตามระยะของภาพ 3 มิติที่มันเห็นผ่านแว่นในลักษณะที่มีความคล้ายคลึงกับการล่าเหยื่อในทะเล ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ปลาหมึกมีระบบการมองเห็นแบบ Binocular คล้ายกับระบบการมองเห็นของมนุษย์จริง
อย่างไรก็ตาม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ Trevor Wardill ที่เป็นหนึ่งในเจ้าของผลงานวิจัยชิ้นนี้ก็ได้ออกมาให้สัมภาษณ์กับทางสำนักข่าว CNN ถึง ปัญหาใหญ่ ในการวิจัยครั้งนี้ว่า เขาได้ ประสบปัญหาในการพยายามสวมแว่น ให้ปลาหมึกเหล่านี้อยู่ไม่น้อย เพราะไม่เพียงแต่พื้นผิวของมันจะมีความลื่นแล้ว ในทุกๆ ครั้งที่เขาพยายามสวมแว่นให้กับบรรดาหมึกทดลอง มันก็ มักจะเอาหนวดของมันมาเกี่ยวแว่น เล่นอยู่เสมอ จนสุดท้ายทางทีมวิจัยก็ได้ใช้การ “ติดกาว” แว่น 3 มิตินี้เข้ากับตัวของปลาหมึกและให้รางวัลกับปลาหมึกตัวที่ไม่ตวัดหนวดออกมาเกี่ยวแว่นจากตาของมัน จนสุดท้ายก็ได้กลุ่ม “หมึกทดลอง” จำนวน 11 ตัวนี้