องค์ประกอบของโครงการ Big Data (ต่อจากตอนที่แล้ว)
4. การวิเคราะห์ และประมวลผล
การวิเคราะห์ มีลำดับขั้นตอนทั้งหมด 3 ขั้นตอน ได้แก่
-
- Descriptive คือ การวาดกราฟ สร้างตาราง หรือวิเคราะห์เชิงสถิติ ตามสมการที่เราต่างคุ้นเคย เช่น ค่าเฉลี่ย หรือ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อให้เกิดความเข้าใจในข้อมูลนั้นมากขึ้น
- Predictive คือ การนำข้อมูลมาสร้างความสัมพันธ์ เพื่อทำนายผลลัพทธ์ใหม่ หรือ ทำนายสิ่งใหม่ ๆ ในอนาคต เช่น การทำโมเดลการพยากรณ์ (Forecasting Model) หรือการทำโมเดลทำนายพฤติกรรมลูกค้าที่กำลังจะตีจาก (Churn Prediction) เป็นต้น
- Prescriptive คือการสร้างสมมติฐาน การสร้าง Medel การคิดใหม่ เพื่อหาผลลัพธ์ใหม่ที่ไม่มีในอดีตมาก่อน เช่น การทำ Optimization (การหาจุดสมดุล) เป็นต้น
5. การนำผลลัพธ์ไปแสดง หรือใช้งาน
ในส่วนสุดท้ายคือ การนำไปใช้งาน แม้ว่าจะเป็นองค์ประกอบสุดท้าย แต่เป็นลำดับแรกที่ต้องคำนึงถึงก่อนที่จะเริ่มโครงการ เพราะส่วนนี้ คือ เป้าหมายของการทำโครงการ
โครงการจะเกิดขึ้นได้ จะต้องมีเป้าหมาย เพื่อเป็นตี้วัดว่า โครงการนี้ทำแล้วจะได้ประโยชน์อย่างไร ซึ่งผลลัพธ์จากการทำโครงการ Big Data จะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ รายงานที่นำไปใช้ประกอบการตัดสินใจต่อไป กับการกระทำที่เป็นระบบอัตโนมัติ มีการเชื่อมโยงกับการทำงานในส่วนอื่น และไม่ต้องให้มนุษย์เป็นผู้ตัดสินใจ ตัวอย่างเช่น Chat-bot ที่มีการวิเคราะห์ภาษาที่ใช้นำเข้า (Input) แล้วมีการโต้ตอบอัตโนมัติโดยไม่มีมนุษย์เป็นผู้พิมพ์ตอบ หรือการแดสงผลที่หน้าจอ Application โดยเลือกสินค้าที่คิดว่าผู้ใช้งานผู้นี้จะพึงพอใจ ที่แตกต่างจากหน้าจอของผู้ใช้งานผู้อื่น อันนี้ก็คือเป็นผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้ข้อมูลด้วยเช่นกัน