เข้าสู่ทศวรรษที่ 21 ที่ “ฐานข้อมูล”มีมูลค่าดั่งบ่อน้ำมัน และกว่า 20 ปี ที่ประเทศไทยได้พยายามสร้างบรรทัดฐานใหม่แห่งการปกป้องสิทธิส่วนบุคคล ในที่สุด หน่วยงานปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล ก็ได้กำหนดกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้การรับรองจาก National Legislative Assembly (NLA) เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 โดยกฏเกณฑ์ส่วนมากเหมือนจะคัดลอกมาจาก EU’s General Data Protection Regulation (GDPR) และจะใช้เป็นบรรทัดฐานรวมอยู่ในราชกิจานุเบกษาไทย
รัฐธรรมนูญไทยกำลังพยายามผลักดันความปลอดภัยเรื่องสิทธิการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล โดยมีกฎหมายที่เริ่มบังคับใช้ในธุรกิจบางประเภท อย่างเช่น ธุรกิจการสื่อสาร, สุขภาพ, ธนาคาร และ การรับรองความน่าเชื่อถือ (credit reporting)
บทลงโทษการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล มีค่าปรับตั้งแต่ 50,000 จนถึง 5,000,000 บาท และจำคุกไม่เกิน 1 ปี แต่ยังไม่มีบุคคลจากองค์กรไหนหรือแฮกเกอร์คนใดที่จบลงด้วยการรับโทษเข้าคุกแม้แต่คนเดียว
ธุรกิจและองค์กรที่จะเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลได้จะต้องได้รับการยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อน โดยข้อมูลที่จะได้รับการคุ้มครองทางกฏหมายมีอยู่ 3 ประเภท คือ
- ข้อมูลส่วนตัว (Personal Data Collection)
- ข้อมูลที่จะนำไปใช้ประโยชน์ (Data Usage)
- ข้อมูลที่สามารถเปิดเผยได้ (Data Disclosure)
อย่างในกรณีของการเปิดบัญชีธนาคาร ลูกค้าจะต้องเซ็นยินยอมการให้เข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล และการนำข้อมูลของลูกค้ามาวิเคราะห์เพื่อการเสนอขายบริการและสินค้าเพิ่มเติม ก็เป็นเรื่องที่ไม่ขัดต่อกฏหมายแต่อย่างใด
การยกเลิกหรือระงับการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลสามารถทำได้ โดยการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ แต่ข้อมูลยังคงอยู่กับบางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น แม้ว่าจะยกเลิกบัญชีธนาคารไปแล้ว แต่ข้อมูลยังคงมีอยู่กับธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อตรวจสอบการฟอกเงิน เป็นต้น
ผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว หรือ SME อาจจะสุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลได้เช่นกัน เพราะถือเป็น Data Controller ผู้ที่มีอำนาจในการควบคุมข้อมูลของลูกค้า และการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ก็จะต้องได้รับการยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อนเช่นกัน
กฎหมายว่าด้วยเรื่องการเข้าถึงสิทธิส่วนบุคคลยังคงเป็นที่ถกเกียงกัน เพราะแม้ว่าจะได้การรับรองจาก NLA แต่ก็ยังมีหลายข้อที่ขัดแย้งกับกฏของ GDPR
================
Technopolis มหานครอัจฉริยะ
ทุกวันเสาร์ เวลา 12.30 – 13.00 น.
ทางไทยรัฐทีวี ช่อง 32
ติดตามข่าวสารจาก TKNonline
เฟสบุคแฟนเพจ https://www.facebook.com/TKNOnline
Subscribe https://www.youtube.com/TKNonline
และเว็ปไซต์ https://tknonline.com/ http://www.splash-inter.co.th/