D-TECH: RangerBot หุ่นยนต์เพชรฆาตปลาดาว

เนื่องจากแนวปะการังที่สวยงามของประเทศออสเตรเลียอย่าง Great Barrier Reef กำลังจะมีช่วงเวลาที่สวยงาม โดยระยะเวลาที่ผ่านมา แนวปะการังที่สวยงามนี้ ได้รับผลกระทบจากความที่มหาสมุทรมีความอบอุ่นขึ้น (เป็นผลจากการที่มนุษย์ทำให้โลกร้อนขึ้น) ส่งผลให้แนวปะการังถูกทำให้เสียหายเป็นจำนวนมาก แต่นั่นก็ไม่ใช่เพียงประเด็นปัญหาเดียวที่แนวปะการังอันสวยงามต้องเผชิญ

โดยเมื่อเร็วๆ นี้เกิดการหลั่งไหลของปลาดาวจำนวนมากที่เข้ามาพักพิงในแนวปะการัง ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากการที่มนุษย์ปล่อยมลพิษสารเคมีลงในมหาสมุทร และตามการรายงานข่าวของสื่อ CNET ระบุว่า สารเคมีในมหาสมุทรได้เร่งการเติบโตของสาหร่ายซึ่งเป็นปัจจัยที่เกื้อหนุนการดำรงชีวิตของปลาดาว ทำให้นักวิทยาศาสตร์ได้สร้างหุ่นยนต์นักดำน้ำที่ทำหน้าที่ตรวจสอบจำนวนประชากรปลาดาว และแถมมันยังเป็นนักฆ่าที่แท้จริงอีกด้วย

และปลาดาวในสายพันธุ์ Crown-of Thorns นั้นเป็นตัวการของปัญหา ในขณะที่การเพิ่มขึ้นของประชากรสัตว์น้ำนั้นดูเหมือนจะเป็นเรื่องดี แต่ไม่ใช่กับปลาดาวสายพันธุ์นี้ ด้วยความที่มันชอบกินปะการังนั่นเอง

และเพื่อป้องกันการคุกคามแนวปะการังจากปลาดาวสายพันธุ์ Crown-of Thorns ที่เพิ่มจำนวนประชากรขึ้นอย่างรวดเร็ว นักวิทยาศาสตร์จาก Queensland University of Technology ได้ออกแบบและสร้างหุ่นยนต์ดำน้ำ ที่สามารถฆ่าปลาดาวสายพันธุ์ที่เป็นปัญหา โดยเมื่อมีการตรวจพบ มันก็จะทำการฉีดสารพิษเพื่อฆ่าปลาดาว และหุ่นยนต์นี้เริ่มมีการสร้างในปี 2015 จากนั้นก็มีการปรับแต่งหลายครั้ง จนตอนนี้ได้มีการนำไปใช้งานจริงแล้ว โดยหุ่นยนต์นักฆ่าตัวนี้มีชื่อว่า RangerBot

หุ่นมีน้ำหนัก 30 ปอนด์ (13.6 กก.) ควบคุมผ่านเครื่องแท็บเล็ต และมันฉลาดพอที่จะที่นำทางด้วยตัวเอง โดยที่มนุษย์สามารถเข้าควบคุมการทำงานของมันได้ในทุกเวลาที่ต้องการ

และการใช้งานหุ่นยนต์แทนนักดำน้ำในภารกิจจัดการกับปลาดาวนั้นก็เป็นอะไรที่ไม่ยุ่งยาก ด้วยความที่หุ่นยนต์แต่ละตัวสามารถปฏิบัติการใต้น้ำได้นานถึง 8 ชั่วโมง ก่อนที่จะต้องกลับมาชาร์จแบตฯ และด้วยเครื่องมือที่ติดตั้งอยู่บนตัวหุ่น ทำให้นอกจากมันจะสามารถทำตัวเป็นนักฆ่าได้แล้ว มันยังทำหน้าที่สำรวจสภาพของแนวปะการังได้ด้วย ทำให้นักวิทยาศาสตร์มีข้อมูลมากขึ้นในการฟื้นฟูแนวปะการัง

================

Technopolis มหานครอัจฉริยะ
ทุกวันเสาร์ เวลา 12.30 – 13.00 น.
ทางไทยรัฐทีวี ช่อง 32
ติดตามข่าวสารจาก TKNonline
เฟสบุคแฟนเพจ https://www.facebook.com/TKNOnline
Subscribe https://www.youtube.com/TKNonline
และเว็ปไซต์ https://tknonline.com/ http://www.splash-inter.co.th/