บ่อยครั้งที่นกกับเครื่องบินต้องเผชิญหน้ากันบนน่านฟ้าเดียวกัน และบทสรุปก็มักจะลงเอยด้วยการการเสียชีวิตของพวกนกเหล่านั้นด้วย
แต่จากผลการศึกษาล่าสุดแสดงให้เห็นว่า “หุ่นยนต์นำฝูงนก” สามารถช่วยกันฝูงนกไม่ให้เข้าใกล้เครื่องบินได้ อีกทั้งยังช่วยลดความเสียหายจากการที่นกบินมาชนเครื่องบิน
ซึ่งเหตุนกบินชนเครื่องบินทำให้อุตสาหกรรมการบินต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้แต่ละปีมากถึง 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณเกือบๆ 4 หมื่นล้านบาท
ผลการศึกษาดังกล่าวที่เผยแพร่ในวารสาร IEEE Transactions on Robotics ระบุว่า นักวิทยาศาสตร์จาก California Institute of Technology ของสหรัฐอเมริกา ประสบความสำเร็จในการใช้โดรนเพียงตัวเดียวต้อนฝูงนกให้พ้นจากเส้นทางของเครื่องบินได้ โดยอาศัยอัลกอริทึ่มที่ได้รับการออกแบบมาจากการคาดการณ์พฤติกรรมในการต้อนฝูงแกะนั่นเอง
โดย Soon-Jo Chung ผู้ร่วมเขียนงานวิจัยดังกล่าว เผยในแถลงการณ์ว่า ทีมนักวิจัยพัฒนาอัลกอริทึ่มนี้ขึ้นมาเพื่อฝึกให้โดรนนำทางฝูงนก โดยอิงจากรูปแบบการบินเป็นฝูง และพฤติกรรมของฝูงนก แต่ก็ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมากด้วยเช่นกัน เพราะลักษณะการบินของนกจะรวมกันเป็นหนึ่งเดียว ไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนเส้นทางหรือไม่ พวกมันก็จะบินไปด้วยกัน แต่หากมีบางอย่าง เช่น โดรน เข้ามาใกล้จนเกินไป ก็จะทำให้ฝูงนกแตกกระเจิงไปคนละทิศคนละทางได้ ซึ่งการนำทางของโดรนนั้นจะเป็นการบีบพื้นที่ในการบินของนก และสามารถทำให้ฝูงนกเปลี่ยนเส้นทางบิน โดยไม่ไปเข้าใกล้น่านฟ้าที่เครื่องบินต่างๆ บินผ่านได้
ส่วนเหตุผลที่ทำให้เกิดโปรเจคนี้ขึ้นมา Chung ระบุว่า สืบเนื่องจากเหตุการณ์ที่เครื่องบินของสายการบิน US Airways เที่ยวบิน 1549 ชนกับฝูงห่านในปี 2009 จนทำให้นักบิน Chesley Sullenberger ต้องร่อนลงจอดฉุกเฉินที่แม่น้ำฮัดสัน ในเมืองแมนฮัตตัน
ซึ่งครั้งนั้นผู้โดยสารปลอดภัยมาได้เพราะทักษะของนักบินล้วนๆ จึงทำให้เขาคิดว่าครั้งต่อไปหากเกิดเหตุการณ์ทำนองนี้อีก อาจจะไม่ได้จบอย่างมีความสุขแบบนี้ก็เป็นได้
Technopolis มหานครอัจฉริยะ
ทุกวันเสาร์ เวลา 12.00 – 12.30 น.
ทางไทยรัฐทีวี ช่อง 32
ติดตามข่าวสารจาก TKNonline
เฟสบุคแฟนเพจ https://www.facebook.com/TKNOnline
Subscribe https://www.youtube.com/TKNonline
และเว็ปไซต์ https://tknonline.com/ http://www.splash-inter.co.th/