D-TECH: พลาสติกย่อยสลายได้จากเปลือกกุ้งล็อบสเตอร์

ขยะพลาสติกเรียกว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่ทั่วโลกซึ่งทุกปีโดยเฉพาะในทะเล มีปริมาณขยะสูงถึงปีละ 8 ล้านตัน เพื่อแก้ปัญหานี้ทางสตาร์ทอัพจากอังกฤษเลยคิดค้นวิธีเปลี่ยนเปลือกกุ้งล็อบสเตอร์ให้กลายเป็นพลาสติกย่อยสลายได้เพื่อเป็นทางเลือกใหม่

สตาร์ทอัพรายนี้มีชื่อว่า Shellworks ได้พัฒนาวิธีเปลี่ยนขยะเหลือทิ้งอย่างเปลือกกุ้งล็อปสเตอร์ให้กลายเป็นพลาสติกที่ย่อยสลายได้ นำมาใช้แทนพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งเพื่อช่วยลดปริมาณขยะ

เปลือกกุ้งล็อปสเตอร์เองก็มีไบโอโพลีเมอร์ชื่อว่า “ไคติน” อยู่เป็นจำนวนมาก คิดเป็น 30-40% ของเปลือกทั้งหมด ปกติแล้วเปลือกพวกนี้มักจะถูกทิ้งอย่างเปล่าประโยชน์ ทางนักวิจัยก็เลยพัฒนาวิธีเปลี่ยนไคตินให้กลายเป็นไบโอพลาสติกรูปแบบใหม่  เริ่มต้นจากนำเปลือกกุ้งล็อปสเตอร์มาบดให้ละเอียด จากนั้นเติมกรดและสารละลายอัลคาไลน์เข้าไปเพื่อทำการแยกแร่ธาตุและชั้นโปรตีนออกมา ให้เหลือแค่ไคตินที่เป็นนาโนไฟเบอร์ จากนั้นก็ผสมผงไคโตซานเข้ากับน้ำส้มสายชูเราจะได้สารละลายไบโอโพลาสติก นำไปใส่เครื่องจักรเพื่อทำการผลิตวัตถุ 3 มิติออกมา

ตอนนี้ทาง Shellworks กำลังทดสอบส่วนผสมที่ไคตินเป็นพื้นฐานเพื่อนำมาผลิตเป็นพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เพราะข้อดีของถุงจากเปลือกกุ้งล็อบสเตอร์นี้สามารถย่อยสลายไปเองตามธรรมชาติด้วย นอกจากนั้นถ้าเพิ่มสารป้องกันเชื้อราหรือเชื้อโรคเข้าไปก็จะสามารถนำมาบรรจุอาหารได้อย่างปลอดภัยยิ่งขึ้น

ปัญหาต่อมาที่ต้องแก้ก็คือ จะมีเปลือกกุ้งล็อบสเตอร์เพียงพอหรือไม่ สำหรับการนำมาใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้น? จากการสำรวจพบว่าขยะที่เป็นเปลือกกุ้งล็อบสเตอร์นั้นมีเพียงพอ แค่เครือร้านอาหารที่เน้นขายล็อบเสตอร์แห่งนึงที่มี 9 สาขา มีขยะที่เป็นเปลือกกุ้งถึงปีละ 375 ตัน นั่นหมายถึงปริมาณไคตินที่สกัดออกมาได้ 125,000 กรัม นำมาผลิตถุงพลาสติกแบบใหม่ได้ถึง 7.5 ล้านใบเลยทีเดียว

================

Technopolis มหานครอัจฉริยะ
ทุกวันเสาร์ เวลา 12.30 – 13.00 น.
ทางไทยรัฐทีวี ช่อง 32
ติดตามข่าวสารจาก TKNonline
เฟสบุคแฟนเพจ https://www.facebook.com/TKNOnline
Subscribe https://www.youtube.com/TKNonline
และเว็ปไซต์ https://tknonline.com/ http://www.splash-inter.co.th/