Tech Story: กสทช. กับความสำคัญของคลื่นความถี่วิทยุ

สหภาพโทรคมนาคม หรือ International Telecommunication Union (ITU) ได้บันทึกว่าปัจจุบัน ทั่วโลกมีการจัดสรร คลื่นความถี่วิทยุ เพื่อกิจการสื่อสารโทรคมนาคม มากกว่าช่วงเวลาในอดีตที่ผ่านมาทั้งหมด

ประเทศไทยใช้คลื่นความถี่อยู่ที่ 30 kHz – 100 GHz ซึ่งส่วนใหญ่ก็ใช้อยู่ในรูปแบบของการสื่อสารคมนาคม เช่น โทรศัพท์, โทรทัศน์ และวิทยุ โดยคลื่นความถี่ที่ต่างกัน ก็จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไปเช่นกัน

คุณสมบัติคลื่นความถี่วิทยุที่ต่างกัน จะบ่งบอกคุณภาพของสัญญาณ, การทะลุทะลวงของวัตถุ, การถูกดูดซับจากสภาพแวดล้อม และความยาวของคลื่น เป็นต้น ส่วนคลื่นความถี่ในย่าน 300 MHz 3 GHz หรือ Ultra High Frequency (UHF) เป็นคลื่นความถี่ที่ผู้ประกอบการให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นคลื่นสัญญาณคุณภาพสูง เพราะยิ่งคลื่นความถี่สูงมากเท่าไหร่ ก็มีความสามารถในการทะลุทะลวงมากขึ้นเท่านั้น

การสื่อสารพัฒนามาจาก Analog สู่ยุค Digital ที่เรียกว่า Convergence of Technology เป็นการหลอมรวมกันของเทคโนโลยี ระบบการสื่อสารและคลื่นความถี่ที่ซับซ้อนขึ้น มีการให้บริการคลื่นความถี่ที่ทับซ้อนกัน ด้วยเหตุนี้ทาง กสทช. จึงมีหน้าที่จัดการเปลี่ยนแปลงการให้บริหารจัดสรรทรัพยากรคลื่นความถี่ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ด้วยการใช้หลักการทางเศรษฐศาสตร์และการตลาดมากขึ้น นั่นก็คือ ใช้วิธีการประมูลคลื่นความถี่ (Spectrum Auction) เพื่อกำหนดให้แต่ละคลื่นความถี่ มีมูลค่าตามความต้องการของตลาด

และที่ผ่านมาทาง กสทช. ก็ได้จัดการประมูลมาแล้วหลายครั้ง นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 กับการประมูลคลื่นความถี่ 2,100 MHz และปี 2558 กับการประมูลคลื่น 900 MHz ที่ปิดไปด้วยมูลค่าการประมูลสูงเป็นอันดับ 3 ของโลก สามารถนำรายได้เข้าสู่กระทรวงการคลังได้หลายหมื่นล้านบาท และในอนาคตอันใกล้นี้ คลื่นความถี่วิทยุ 5G จะเข้ามามีบทบาทในธุรกิจการสื่อสาร ซึ่งทาง กสทช. ก็ได้เตรียมการจัดสรรทรัพยากรไว้แล้ว

================

Technopolis มหานครอัจฉริยะ
ทุกวันเสาร์ เวลา 12.30 – 13.00 น.
ทางไทยรัฐทีวี ช่อง 32
ติดตามข่าวสารจาก TKNonline
เฟสบุคแฟนเพจ https://www.facebook.com/TKNOnline
Subscribe https://www.youtube.com/TKNonline
และเว็ปไซต์ https://tknonline.com/ http://www.splash-inter.co.th/